สำหรับใครที่สนใจจะลงทุนหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาฯ จะต้องศึกษาเรื่องของผังเมืองและสีผังเมืองไว้ ว่าแต่ละสีสามารถทำอะไรได้บ้าง การแบ่งผังเมืองเป็นสีต่าง ๆ มีไว้เพื่ออะไร แต่ละสีนั้นมีความสำคัญอย่างไรบ้าง วันนี้จะมาอธิบายผังสีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. สีเหลือง : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
ข้อกำหนด
– ย.1 (ย.1-1 ถึง ย.1-4) ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของการอยู่อาศัยบริเวณชานเมือง
– ย.2 (ย.2-1 ถึง ย.2-17) รองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยที่ทีสภาพแวดล้อมดีในบริเวณชานเมือง
– ย.3 (ย.3-1 ถึง ย.3-70) ดำรงรักษาการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมดีในบริเวณชานเมือง
– ย.4 (ย.4-1 ถึง ย.4-40) ดำรงรักษาการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมดีในบริเวณชานเมืองซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
2. สีส้ม : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
ข้อกำหนด
– ย.5 (ย.5-1 ถึง ย.5-37) รองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับกับเขตเมืองชั้นใน
– ย.6 (ย.6-1 ถึง ย.6-48) รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน ศูนย์ชุมชนชานเมือง เขตอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
– ย.7 (ย.7-1 ถึง ย.7-30) รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นในซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
3. สีน้ำตาล : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ข้อกำหนด
– ย.8 (ย.8-1 ถึง ย.8-26) รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่มีการส่งเสริมและดำรงรักษาทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
– ย.9 (ย.9-1 ถึง ย.9-30) รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่เขตเมืองชั้นในซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
– ย.10 (ย.10-1 ถึง ย.10-13) รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองและเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
4. สีแดง : ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
ข้อกำหนด
– พ.1 (พ.1-1 ถึง พ.1-21) ให้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์พาณิชยกรรมของชุมชน เพื่อกระจายกิจกรรมการค้าและการบริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมือง
– พ.2 (พ.2-1 ถึง พ.2-5) ให้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์ชุมชนชานเมือ งเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การบริการ และนันทนาการที่จะก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงานของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมือง
– พ.3 (พ.3-1 ถึง พ.3-43) ให้ใช้ประโยชน์
5. สีม่วง : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
ข้อกำหนด
– อ.1 (อ.1-1 ถึง อ.1-6) เป็นเขตการบริหารและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับการประกอบกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
– อ.2 (อ.2-1 ถึง อ.2-6) เป็นเขตการบริหารและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับการประกอบกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมการผลิต
6. สีม่วงเม็ดมะปราง : ที่ดินประเภทคลังสินค้า
ข้อกำหนด
– อ.3 (อ.3) เป็นคลังสินค้าสำหรับการขนส่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
ข้อกำหนด
– ก.1 (ก.1-1 ถึง ก.1-16) เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ในบริเวณที่มีข้อจำกัดด้านการระบายน้ำและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย
– ก.2 (ก.2-1 ถึง ก.2-13) เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
– ก.3 (ก.3-1 ถึง ก.3-2) เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มและน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งทะเล
8. สีเขียว : ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ข้อกำหนด
– ก.4 (ก.4-1 ถึง ก.4-38) เพื่อเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร
– ก.5 (ก.5-1 ถึง ก.5-13) เพื่อเป็นชุมชนและศูนย์กลางการให้บริการทางสังคมและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
9. สีน้ำตาลอ่อน : ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
ข้อกำหนด
– ศ.1 (ศ.1-1 ถึง ศ.1-6) เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว
– ศ.1 (ศ.2) เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และส่งเสริมกิจกรรมด้านพาณิชยกรรม การบริการ และการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
10. สีน้ำเงิน : ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ข้อกำหนด
– ส. (ส.-1 ถึง ส.-74) เพื่อเป็นสถาบันราชการและการดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวกับการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์